วงการวิทย์ฯ แตกตื่นเลือดจระเข้ฆ่าเชื้อเอดส์ได้

ข่าวรอยเตอร์

นักวิทยาศาสตร์แดนจิงโจ้ระดมเก็บตัวอย่างเลือดจระเข้เพื่อพัฒนายาปฏิชีวนะสำหรับมนุษย์ หลังการทดลองยืนยันแล้วว่าแอนติเจนในเลือดจระเข้สามารถกลายเป็นแอนติบอดีฆ่าเชื้อไวรัสเอชไอวีที่เป็น สาเหตุของโรคเอดส์ในมนุษย์ได้

.

ระบบภูมิคุ้มกันของจระเข้นั้นเข้มแข็งมากกว่าระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์มากมายนัก โดยนักวิทยาศาสตร์ได้สังเกตความเป็นอยู่ของจระเข้ที่มักต่อสู้กันจนเป็นแผลขนาดใหญ่หรือขาขาด แต่แผลฉกรรจ์เหล่านั้นกลับไม่เน่าพุพอง และปิดสนิทหายอย่างรวดเร็ว

ทั้งๆ ที่จระเข้อยู่อาศัยในพื้นที่หนองน้ำและพื้นดิน ซึ่งเต็มไปด้วยเชื้อไวรัสและแบคทีเรียชนิดต่างๆ ลักษณะดังกล่าวของจระเข้ทำให้นักวิทยาศาสตร์ตั้งข้อสงสัย และนำตัวอย่างเลือดจระเข้มาวิจัยกับเชื้อจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ ที่สามารถฆ่ามนุษย์ได้ อดัม บริตตัน (Adam Britton) นักวิทยาศาสตร์ชาวออสเตรเลียน จากคร็อกโคไดลัส พาร์ก ศูนย์การท่องเที่ยวและวิจัยในเมืองดาร์วิน (Darwin’s Crocodylus Park) เปิดเผยว่า เขาได้ศึกษาระบบภูมิคุ้มกันของจระเข้ตั้งแต่ปี 1998 เป็นต้นมา และพบว่าระบบภูมิคุ้มกันของสัตว์เลื้อยคลานมีสารโปรตีนบางชนิดหรือสารก่อ ภูมิต้านทาน (antingen) หลายชนิดที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้มากกว่าเชื้อยาเพนนิซิลินที่ไม่ สามารถกำจัดได้

.

การค้นพบความแข็งแรงของแอนตีบอดีในจระเข้ครั้งนี้ เกิดจากการสังเกตบาดแผลของพวกมันหลังจากต่อสู้กันอย่างหนักหน่วง โดยเฉพาะเชื้อ hylococcus aureus หรือ golden staph เป็นเชื้อแบคทีเรียที่พบบริเวณผิวหนังและภายในโพรงจมูกของคนทั่วไป บางครั้งเชื้อนี้ก่อให้เกิดโรคและพบว่าเป็นสาเหตุของการติดเชื้อที่ผิวหนัง ได้บ่อยที่สุดในบรรดาเชื้อก่อโรคทั้งหลาย ซึ่งเชื้อชนิดนี้กำลังเป็นเชื้อดื้อยาที่แพทย์พยายามหาทางแก้ไขนอกจากนี้ การทดลองยังพบด้วยว่าภูมิคุ้มกันจระเข้สามารถฆ่าเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) ที่เป็นสาเหตุของโรคเอดส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะนี้คณะนักวิทยาศาสตร์ออสเตรเลียนำทีมโดยบริตตันและมาร์ก เมอร์ชานต์ (Mark Merchant) จากสหรัฐฯ ใช้เวลากว่า 10 วันในการระดมเก็บตัวอย่างเลือดจระเข้ทั้งพันธุ์น้ำเค็มและน้ำจืดเพื่อนำ มาสกัดทำเป็นยาฆ่าจุลินทรีย์ โดยพยายามเข้าจับจระเข้าต่างๆ และสตาฟส่วนหัวไว้ชั่วคราว เพื่อให้นักวิทยาศาสตร์ได้มีโอกาสเข้าเก็บตัวอย่างเลือดจากส่วนหัวของจระเข้ ซึ่งเป็นแหล่งเส้นเลือดขนาดใหญ่

.

“บริเวณหัวมีโพรงหลอดเลือด ทำให้พวกเราสามารถปักเข็มลงตรงส่วนนั้นและได้ตัวอย่างเลือดในปริมาณที่มากพอ ได้โดยง่าย” บริตตันอธิบาย พร้อมทั้งระบุว่า ภูมิคุ้มกันของจระเข้แตกต่างจากมนุษย์รวมถึงมีฤทธิ์แรงมาก ดังนั้นจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้เข้ากับร่างกายมนุษย์ได้ ก่อนนำมาใช้กับมนุษย์โดยตรง ในเคส  แผลพุพอง เป็นหนอง รวมถึงโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง

.

ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์ 16 สิงหาคม 2548
ผลที่ได้ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล และ การดำเนินชีวิตในประจำวันที่ถูกต้อง

Responses are currently closed, but you can trackback from your own site.

Comments are closed.