Posts Tagged ‘งานวิจัย’

HEMOLYSISงานวิจัยเลือดจระเข้เพื่อผู้ป่วยเบาหวาน

วิน-เชยชมศรี-อาจารย์

โรคเบาหวาน (Diabetes mellitus) เป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลที่ได้จากการรับประทานอาหารไปใช้ให้เกิดพลังงานได้อย่างเต็มที่ สาเหตุจากความผิดปกติในการทำงานของฮอร์โมนที่มีชื่อว่า อินซูลิน (Insulin) ซึ่งผลิตจากตับอ่อน เมื่อเกิดการทำงานของอินซูลินที่ผิดปกติทำให้การลดระดับน้ำตาลในเลือดเสียไป ส่งผลให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง และพบน้ำตาลถูกขับออกมาทางปัสสาวะได้ จัดเป็นโรคที่หายขาดได้ยาก โรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นมักเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตที่พบบ่อย ดังนั้นหากผู้ใดเป็นโรคเบาหวานแล้วสิ่งสำคัญที่สุด คือ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและการปกป้องการเกิดภาวะแทรกซ้อน

บรรยายพิเศษเรื่องงานวิจัยเลือดจระเข้ Thailand Research Expo 2012

เก็บตกภาพบรรยากาศการบรรยายพิเศษ เรื่องงานวิจัยเลือดจระเข้ ในงาน Thailand Research Expo 2012 (การนำเสนอผลงานวิจัยแห่งชาติ 2555) ณ ศูนย์การประชุมบางกอกคอนเวนชันเซนเตอร์ ราชประสงค์ กรุงเทพฯ จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เมื่อวันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม 2555 ดร.วิน  เชยชมศรี อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หัวหน้าทีมวิจัย และดร.จินดาวรรณ  สิรันทวิเนติ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้บรรยายพิเศษเรื่องการวิจัยเลือดจระเข้ โดยได้อธิบายขั้นตอนการวิจัยเลือดจระเข้จากจระเข้สายพันธุ์ไทย ตั้งแต่กระบวนการเพาะเลี้ยงจระเข้ กระบวนการเจาะเก็บเลือด กระบวนการแปรรูปเพื่อคงคุณค่าของเลือดจระเข้ จนได้มาเป็นผลิตภัณฑ์เลือดจระเข้ที่สามารถออกจำหน่ายสู่ตลาด รวมถึงเรื่องความปลอดภัย สารอาหาร และประโยชน์ที่

รวมงานวิจัยเลือดจระเข้

งานวิจัยเลือดจระเข้ในการเสริมธาตุเหล็ก งานวิจัยนี้ศึกษาเลือดจระเข้เปรียบเทียบธาตุเหล็กสังเคราะห์ โดยให้หนูทดลองที่เป็นโลหิตจาง กินเลือดจระเข้ และ กินธาตุเหล็กสังเคราะห์ พบว่าหนูที่กินธาตุเหล็กสังเคราะห์จะได้รับผลข้างเคียงคือ ม้ามโตและมีสีเข้ม แต่หนูที่กินเลือดจระเข้จะไม่ได้รับผลข้างเคียงใดๆ  (บทความเพิ่มเติม) . งานวิจัยเลือดจระเข้กับความปลอดภัยในการบริโภค งานวิจัยนี้ศึกษาความปลอดภัยในการกินเลือดจระเข้ โดยให้หนูทดลองกินเลือดจระเข้ในปริมาณมากและต่อเนื่องเป็นเวลานาน พบว่า ไม่มีผลเสียต่อตับและไต และอวัยวะต่างๆ  (บทความเพิ่มเติม)

งานวิจัยการบริโภคเลือดจระเข้ที่มีผลต่อเบาหวาน

การตรวจหาไอจีเอฟ-วัน (Insulin like Growth Factor-1, IGF-1) ในซีรัมจระเข้เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพAnalysis of Insulin like Growth Factor-1 (IGF-1) in Crocodile Serum  for Development of Functional Food บทคัดย่อ : ไอจีเอฟ-วัน (Insulin like Growth Factor-1, IGF-1)เป็นสารที่มีโครงสร้างทางโมเลกุลคล้ายอินซูลิน พบในน้ำเลือดและของเหลวต่างๆ ในร่างกาย ปัจจุบันมีการใช้ประโยชน์เลือดจระเข้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเลือดจระเข้แห้งแคปซูล เพื่อทดสอบสมมุติฐานว่าในส่วนของน้ำเลือดจระเข้น่าจะมี IGF-1 หรือสารที่คล้ายกัน จึงได้ตรวจหา IGF-1 ในน้ำเลือดของจระเข้พันธุ์ไทยที่ได้ จากการเพาะเลี้ยง อายุ 2-5 ปี พบว่าปริมาณซีรัม IGF-1 ในเพศผู้ (n=13) เท่ากับ 64.51±5.42 ng/ml และเพศเมีย(n=10) เท่ากับ 70.92±4.18 ng/ml ในซีรัมสดและซีรัมแห้งเท่ากับ 67.28±4.79 ng/ml [...]

งานวิจัยกับความปลอดภัยในการบริโภคเลือดจระเข้

ผลของการบริโภคเลือดจระเข้ในหนู ความปลอดภัยในการบริโภคเลือดจระเข้เพื่อการแพทย์แผนไทย ยังไม่เคยมีรายงานทางวิทยาศาสตร์มาก่อน เพื่อประเมินผลของการบริโภคเลือดต่อค่าทางชีวเคมี จึงได้ทำการทดลองในหนูแรท 5 กลุ่มทั้งสองเพศ ให้หนูบริโภคเลือด (ทั้งเลือดสดและเลือดแห้ง) โดยการกรอกทางปากในระยะเวลา 7 สัปดาห์โดยให้บริโภคเลือดจระเข้ทุกวัน และสัปดาห์ละครั้ง  เก็บเลือดหนูก่อนและหลังบริโภคเลือดในสัปดาห์ที่ 0,12,24 ผลการศึกษาค่าทางชีวเคมีในเลือดที่สามารถบอกถึงการทำงานของไตและตับในหนู (ค่า alkaline phosphatase [ALP], aspartate transaminase [AST],alanine transaminase[ALT],น้ำตาลในเลือด[blood glucose],ยูเรียในเลือด [blood urea nitrogen, BUN] และอัลบูมิน[albumin]) ไม่มีความแตกต่างกันในหนูทุกกลุ่มตลอดระยะเวลาของการศึกษาแสดงให้เห็นว่าเลือดจระเข้ไม่มีผลเสียต่อการทำงานของตับและไต  ผลทางจุลพยาธิวิทยาของอวัยวะภายในต่างๆ ก็ไม่พบความผิดปกติ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงความปลอดภัยในการบริโภคเลือดจระเข้เป็นอาหารเสริม อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาถึงผลเรื้อรังที่อาจเกิดขึ้นในระยะยาว

ไอจีเอฟ-วัน ในเลือดจระเข้เพื่อผู้ป่วยเบาหวาน

งานวิจัยเรื่อง การตรวจหาไอจีเอฟ-วัน (Insulin like Growth factor-1, IGF-1) ในซีรัมจระเข้ เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพของกลุ่มโรคเบาหวาน ANALYSIS OF INSULIN LIKE GROWTH FACTOR-I (IGF-I) IN CROCODILE SERUM FOR DEVELOPMENT OF DIABETES MILLITUS PATEINT’S FUNCTIONAL FOOD ไอจีเอฟ-วัน (IGF-1) เป็นสารคล้ายกับอินซูลิน พบได้ในน้ำเลือด และของเหลวต่างๆ ในร่างกาย ปัจจุบันมีการแปรรูปเลือดจระเข้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเลือดจระเข้แห้งชนิดแคปซูล โดยมีผลของผลิตภัณฑ์จากงานวิจัยในผู้บริโภคกลุ่ม โรคเบาหวาน ว่า เหมาะสำหรับคนที่เป็นเบาหวาน  ลดระดับน้าตาลในเลือด

เลือดจระเข้แรงกว่าเลือดมนุษย์ รีดเอามาทำยา

นักวิทยาศาสตร์เมืองจิงโจ้ กำลังตั้งหน้าตั้งตาจับจระเข้มาเจาะเอาตัวอย่างเลือด เพื่อจะค้นหายาขนานเอกเอามาช่วยเกี่ยวกับโรคภัยของคน เป็นที่โจษขานกันมานาน แล้วว่า บรรดาแผลตามตัวเหล่าชาละวันเหล่านี้ จะหายเองได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว โดยที่เกือบไม่มีการอักเสบเป็นหนองขึ้นเลย และยังปรากฏเมื่อเร็วๆนี้ว่า เลือดจระเข้ยังมีสรรพคุณเป็นยาฆ่าเชื้อโรคอย่างแรงอีกด้วย

งานวิจัยปริมาณที่เหมาะสมของเลือดจระเข้ระเหิดแห้งในการเสริมธาตุเหล็ก

การศึกษาปริมาณของเลือดจระเข้ ระเหิดแห้งในการเสริมธาตุเหล็ก ในหนูสปาร์คดดอเลย์เพศผู้ 50 ตัว โดยการเหนี่ยวนำหนูทดลอง ให้อยู่ในสภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยกินอาหารตามสูตร AIN93G-Fe เป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่าหนูทดลองอยู่ในสภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กอย่างสมบูรณ์   ปริมาณของเลือดจระเข้แห้ง  2500, 1500 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวหนู 1 กิโลกรัม และ 500 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวหนู 1 กิโลกรัมที่เพิ่ม วิตามินซี 50 มิลลิกรัม  เหมาะสมในการนำมาบริโภคต่อวันในการเสริมธาตุเหล็ก ให้กับหนูทดลองที่อยู่ในสภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก และหนูทดลองกลุ่มที่ได้รับเลือดจระเข้เป็นอาหารเสริม ไม่มีผลข้างเคียงต่ออวัยวะภายในของหนูทดลอง  การดูดซึมสารอาหารจากเลือดจระเข้แห้ง

นักวิจัยพบเลือดจระเข้ มีคุณสมบัติต่อต้านเชื้อโรคและเชื้อราต่างๆได้

นักวิจัยจากสหรัฐอเมริกา ผศ.เมอร์แชนท์ บอกว่ามีหลักฐานที่ยืนยันแน่ชัดว่า เซลล์เม็ดเลือดขาวของจระเข้สามารถสร้างสารโปรตีนที่มีคุณสมบัติหยุดยั้งการ เติบโตของเชื้อโรคและต่อต้านเชื้อราต่างๆ ได้จริง ซึ่งคุณแลนเซีย ดาร์วิล นักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยหลุยส์เซียน่า ผู้ช่วยวิจัยของ ผศ.เมอร์แชนท์ อธิบายว่า จากการนำเลือดจระเข้มาทดสอบกับเชื้อแบคทีเรีย 23 ชนิด พบว่า เชื้อโรคทั้ง 23 ชนิดนั้นถูกกำจัดหายไปหมด แต่เมื่อเทียบกับเลือดมนุษย์ที่กำจัดเชื้อโรคได้เพียง 8 ชนิดเท่านั้น

วงการวิทย์ฯ แตกตื่นเลือดจระเข้ฆ่าเชื้อเอดส์ได้

ข่าวรอยเตอร์ นักวิทยาศาสตร์แดนจิงโจ้ระดมเก็บตัวอย่างเลือดจระเข้เพื่อพัฒนายาปฏิชีวนะสำหรับมนุษย์ หลังการทดลองยืนยันแล้วว่าแอนติเจนในเลือดจระเข้สามารถกลายเป็นแอนติบอดีฆ่าเชื้อไวรัสเอชไอวีที่เป็น สาเหตุของโรคเอดส์ในมนุษย์ได้ . ระบบภูมิคุ้มกันของจระเข้นั้นเข้มแข็งมากกว่าระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์มากมายนัก โดยนักวิทยาศาสตร์ได้สังเกตความเป็นอยู่ของจระเข้ที่มักต่อสู้กันจนเป็นแผลขนาดใหญ่หรือขาขาด แต่แผลฉกรรจ์เหล่านั้นกลับไม่เน่าพุพอง และปิดสนิทหายอย่างรวดเร็ว