Posts Tagged ‘งานวิจัยเลือดจระเข้’

บรรยายพิเศษเรื่องงานวิจัยเลือดจระเข้ Thailand Research Expo 2012

เก็บตกภาพบรรยากาศการบรรยายพิเศษ เรื่องงานวิจัยเลือดจระเข้ ในงาน Thailand Research Expo 2012 (การนำเสนอผลงานวิจัยแห่งชาติ 2555) ณ ศูนย์การประชุมบางกอกคอนเวนชันเซนเตอร์ ราชประสงค์ กรุงเทพฯ จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เมื่อวันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม 2555 ดร.วิน  เชยชมศรี อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หัวหน้าทีมวิจัย และดร.จินดาวรรณ  สิรันทวิเนติ อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้บรรยายพิเศษเรื่องการวิจัยเลือดจระเข้ โดยได้อธิบายขั้นตอนการวิจัยเลือดจระเข้จากจระเข้สายพันธุ์ไทย ตั้งแต่กระบวนการเพาะเลี้ยงจระเข้ กระบวนการเจาะเก็บเลือด กระบวนการแปรรูปเพื่อคงคุณค่าของเลือดจระเข้ จนได้มาเป็นผลิตภัณฑ์เลือดจระเข้ที่สามารถออกจำหน่ายสู่ตลาด รวมถึงเรื่องความปลอดภัย สารอาหาร และประโยชน์ที่

งานวิจัยเลือดจระเข้เพิ่มประสิทธิภาพในการกลืนกินเชื้อโรค

วารสารจดหมายเหตุแพทย์ แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (Journal of the medical association of thialand) ได้ตีพิมพ์งานวิจัยเรื่อง กระบวนการกลืนกินของมาโครฟาจ และซีรัมจาก Crocodylus siamensis วิจัยโดย กัลยา อารีย์, จินดาวรรณ สิรันทวิเนติ, วิน เชยชมศรี ดร.กัลยา อารีย์ คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดร.จินดาวรรณ สิรันทวิเนติ และ ดร.วิน เชยชมศรี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทำการศึกษาวิจัยพบว่าซีรัมเลือดจระเข้สามารถกระตุ้นให้มาโครฟาจเพิ่มประสิทธิภาพการกลืนกินแบคทีเรียทั้ง Escherichia coli และ Staphylococcus aureus ซึ่งจากงานวิจันชิ้นนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการบำบัดโรค ในกรณีที่ต้องเพิ่มประสิทธิภาพการทำหน้าที่ของระบบภูมิคุ้มกันต่อไป *มาโครฟาจ (macrophage) คือ เซลล์ในร่างกายทำหน้าที่จับกินสิ่งสกปรกและเชื้อโรคในกระแสเลือด

รวมงานวิจัยเลือดจระเข้

งานวิจัยเลือดจระเข้ในการเสริมธาตุเหล็ก งานวิจัยนี้ศึกษาเลือดจระเข้เปรียบเทียบธาตุเหล็กสังเคราะห์ โดยให้หนูทดลองที่เป็นโลหิตจาง กินเลือดจระเข้ และ กินธาตุเหล็กสังเคราะห์ พบว่าหนูที่กินธาตุเหล็กสังเคราะห์จะได้รับผลข้างเคียงคือ ม้ามโตและมีสีเข้ม แต่หนูที่กินเลือดจระเข้จะไม่ได้รับผลข้างเคียงใดๆ  (บทความเพิ่มเติม) . งานวิจัยเลือดจระเข้กับความปลอดภัยในการบริโภค งานวิจัยนี้ศึกษาความปลอดภัยในการกินเลือดจระเข้ โดยให้หนูทดลองกินเลือดจระเข้ในปริมาณมากและต่อเนื่องเป็นเวลานาน พบว่า ไม่มีผลเสียต่อตับและไต และอวัยวะต่างๆ  (บทความเพิ่มเติม)